เรื่องย่อ : The Theory of Everything (2014) ทฤษฎีรักนิรันดร ดูหนังออนไลน์ หนังใหม่ ดูหนังHD ดูหนังฟรี MovieHD24 หนัง2024 หนังออนไลน์ Full HD
The Theory of Everything (2014) ทฤษฎีรักนิรันดร
Stephen Hawking ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสาขาฟิสิกส์ แม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการเมื่ออายุ 21 ปี เขาเอาชนะอุปสรรคอันเลวร้ายเมื่อ Jane ภรรยาคนแรกของเขาช่วยเหลือเขาอย่างภักดี
[CR] รีวิวหนังเรื่อง The Theory of Everything
ให้ 8.5/10 หนังรักโรแมนติก-ดราม่า อิงมาจากเรื่องราวจริงที่ถูกเขียนขึ้นโดย Jane Hawking ในหนังสือที่มีชื่อว่า Travelling to Infinity: My Life with Stephen ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักของเธอที่มีต่อสามี Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชื่อดังที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กับผลงานทางวิชาการของเขาที่แม้ว่าร่างกายจะพ่ายแพ้ต่อโรคแต่สมองยังคงสู้
หนังเรื่องนี้ถูกฉายครั้งแรกในงานเทศกาลหนัง Toronto 2014 ได้รับคำชมและชนะรางวัลมากมาย ล่าสุด Eddie Redmayne (ผู้แสดงเป็น Stephen Hawking) ก็เพิ่งคว้ารางวัล Golden Globes 2015 สาขา Best Actor และหนังเรื่องนี้ยังเข้าชิงรางวัล Oscar ถึง 5 สาขาด้วย
และหลังจากที่ชมหนังที่ชิงรางวัล Oscar สาขา Best Actor มาหมดแล้วยกเว้น Birdman ณ ตอนนี้ขอบอกเลยว่า Eddie Redmayne เหมาะสมแก่รางวัลนี้มากที่สุด ช่างเป็นการแสดงที่เยี่ยมยอดมาก จนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นคนๆเดียวกับคนที่เล่นเป็นตัวร้ายในหนังเรื่อง Jupiter Ascending เพราะใน Jupiter Ascending นั้นส่วนตัวยังไม่อยากเรียกว่าเป็นการแสดงเลย
ถึงแม้ว่าจะเป็นหนังชีวประวัติ แต่เมื่อชมแล้วมันก็คือหนังที่ดำเนินเรื่องเหมือนหนัง ไม่มีการเล่าที่ยืดเยื้อหรือออกแนวสารคดีแต่อย่างใด เป็นหนังที่มีความดีงามและมีคุณค่าทางความรักและวิชาการ สี การจัดองค์ประกอบภาพ เสื้อผ้าหน้าผม จะออกแนวฟุ้งๆหวานๆ เป็นสี pastel ย้อนยุค เพลงประกอบเพราะ เมื่อรวมกับบรรยากาศของอังกฤษแล้วช่างคลาสสิกเสียนี่กระไร
หนังเปิดมาด้วยความรักอันสดใสที่พลอยทำให้คนดูร่าเริงสดใสตามไปด้วย หลังจากนั้น 15 นาทีหนังพาคนดูค่อยๆจมดิ่งสู่ทุกความรู้สึกที่ตรงกันข้าม ซึ่งเต็มไปด้วยความอึดอัดกดดันของหัวอกผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งที่ทำเอาผู้หญิงอย่างอิฉันต้องเสียน้ำตาเกือบทั้งเรื่อง จนออกจากโรงกลับบ้านมาจะนอนแล้ว ความรู้สึกนี้ก็ยังคงคั่งค้างอยู่ภายในจิตใจด้วยความรู้สึกที่ทั้งเข้าใจ เห็นใจและเหนื่อยแทน หนังเรื่องนี้จึงเป็นหนังที่ผู้หญิงมาชมแล้วน่าจะซาบซึ้งและซึมซับเข้าใจความรู้สึกได้ดีกว่าผู้ชาย อย่าลืมพกกระดาษทิชชู่หรือผ้าเช็ดหน้าไปด้วยนะคะ
หนังยังจับเอาประเด็นวิทยาศาสตร์และศาสนศาสตร์มาเล่นให้เห็นถึงความขัดแย้งและแตกต่างทางความเชื่อระหว่าง 2 ตัวละครหลักสามีและภรรยา โดยที่สตีเฟ่นไม่เชื่อในพระเจ้าแต่เชื่อในหลักวิทยาศาสตร์และพยายามคิดหาทฤษฎีเรื่องเงื่อนเวลาเพื่อมาหักล้างเรื่องพระเจ้าและตัวเขาเองก็กำลังแข่งขันกับเวลาอยู่จึงสนใจทฤษฎีนี้เป็นพิเศษ ในระหว่างที่เจนเป็นคนที่เชื่อพระเจ้าอย่างบริสุทธิ์ใจ นั่นจึงเป็นข้อดีที่ทำให้เจนนั้นยังอดทนสู้เสียเหลือเกิน ด้วยการมีความหวังและกำลังใจอยู่เสมอ และเชื่อว่าพระเจ้าจะทรงเมตตาทำให้เกิดปาฏิหาริย์กับสามีของเธอ
ซึ่งเชื่อว่าถ้าสตีเฟ่นเจอสาวที่มีแนวคิดเดียวกันในความเชื่อเรื่องหลักวิทยาศาสตร์ที่ต้องพบเจอเหตุกรณีเดียวกับเจน หนังก็คงจะดราม่ามากกว่านี้ในมุมมองที่แสนเศร้าเป็นแน่ แต่อย่างไรก็ตามแม้เนื้อเรื่องจะดราม่า แต่มันก็เต็มไปด้วยดราม่าที่ feel good ในส่วนที่ดีเพราะตัวละครหลักทุกตัวต่างมองโลกในแง่บวก รัก เข้าใจ และคอยสนับสนุนเป็นแรงผลักดันช่วยเหลือกันและกันไปจนถึงสุดปลายทาง และไม่ว่าจะมีทฤษฎีไหนต่างๆเกิดขึ้นมามากมาย ก็คงจะไม่มีทฤษฎีไหนสู้หรือเทียบเท่าทฤษฎีหรือพลังของรักแท้ได้
ปล. นี่เป็นการให้คะแนนจากความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนมีมุมมอง ความชอบ ความคิดต่างกัน ซึ่งเมื่อคุณไปดูแล้วคุณอาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้ค่ะ (แค่รักการดูหนังและอยากจะแชร์แลกเปลี่ยนความเห็นให้คนชอบดูหนังมาคุยกัน ไม่มีอะไรถูกหรือผิด ทุกคนไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นเหมือนกันค่ะ)
รีวิว The Theory of Everything บทหนังทื่อไร้มิติใด ๆ มารองรับ ยังดีว่าสองนักแสดงนำช่วยกันประคองหนังไว้ได้จนจบ
The Theory of Everything (2014)
1) ก่อนดูผมก็ได้ยินกระแสมาบ้างว่าบทมันไม่ค่อยโอเคเท่าไร แต่ไม่คิดว่าพอดูจริงแล้วบทมันจะเรียกว่า “โคตรแย่” แย่ในที่นี้คือเล่าชีวประวัติ ‘สตีเฟน ฮอว์คิง’ ได้ทื่อมาก เป็นเส้นตรงแบบจับยัดเหตุการณ์มาร้อยเป็นหนังยาวสองชั่วโมง เป็นความทื่อที่ไร้มิติ ไม่มีอะไรมารองรับแต่ละเหตุการณ์ เป็นบทหนังที่แย่มาก (ทันทีที่เขียนข้อแรกจบ รู้สึกเอะใจว่าหนังจะได้ชิงบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์ และมันก็ชิงจริง ๆ ด้วย ส่วนตัวค่อนข้างเซอไพรส์มาก)
2) เราไม่ได้คาดหวังอะไรจากหนังมากไปกว่าอยากสัมผัสด้านโรแมนติกของ ‘เจน’ (Felicity Jones) หญิงสาวที่อยู่เคียงข้างคนรักที่ป่วยทุพพลภาพ แต่หนังไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ด้วยตัวบทหนัง จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งคู่แต่งงานกันคือเลื่อนลอยไม่เห็นความสัมพันธ์ขั้นนั้นเลย ยิ่งช่วงเริ่มต้นชีวิตคู่ยากลำบากนี่มันไม่มีให้เห็นเลยว่าทำไมเจนถึงอยู่ดูแลเขา (แถมยังกระโดดข้ามสิ่งที่หมอบอกว่าจะฮอว์คิงจะตายใน 2 ปีไปขั้นมีลูกด้วยกันเลย) เริ่มต้นก็แย่แล้ว มาเริ่มดีตอนกลางเรื่องที่มีบุคคลที่สามเข้ามาในชีวิตของทั้งคู่ ซึ่งเป็นช่วงที่เจนเริ่มอึดอัดกับสภาพชีวิตตัวเอง เพียงแต่ว่าส่วนประกอบก่อนหน้านั้นมันถูกใส่มาแบบจับยัดโดยตลอดพอมาถึงฉากนี้มันก็เข็นไม่ขึ้นแล้ว
3) บทหนังแย่ ๆ นี่อยู่รอดได้ด้วยการแสดงของทั้ง ‘เอ็ดดี้ เรดเมย์น’ และ ‘เฟลิซิตี้ โจนส์’ จริง ๆ อย่างที่บอกว่าแต่ละฉากมันถูกจับยัดเข้ามาเรื่อย ๆ แบบไม่มีอะไรมารองรับเลย ดังนั้นการแสดงจึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้คนดูคล้อยตามตัวละคร ซึ่งทั้งสองคนทำหน้าที่ส่วนการแสดงประสบความสำเร็จ
4) หนังพยายามออกจากสเกลการเป็นหนังรักด้วยการออกไปแตะด้านผลงานของฮอว์คิงให้คนดูที่ไม่รู้จักเขาได้สัมผัสถึงความอัจฉริยะของเขา แต่บอกเลยว่าเหลวเป๋วมาก จะออกไปเต็มตัวก็ไม่กล้าเพราะมันเป็นเรื่องจักรวาลวิทยาเข้าใจยาก จะไม่พูดถึงผลงานเลยก็ไม่ได้ พอด้านผลงานออกมาแบบผิวเผินไปรวมกับพาร์ทโรแมนติกอันย่ำแย่มันยิ่งฉุดหนังให้ลงเหวเร็วขึ้นอีก (คงมีแต่การแสดงที่ช่วยประคองเอาไว้)
5) พูดถึงการแสดงของ ‘เอ็ดดี้ เรดเมย์น’ อยู่ในเกณฑ์ดีสำหรับเข้าชิงรางวัลแต่ยังไม่ถึงขั้นว้าวสำหรับผม เขาทำหน้าที่ได้ดีมาก ๆ ในการเลียนแบบกายภาพของฮอว์คิง แต่พอพูดถึงการถ่ายทอดอารมณ์แล้วเขาดีแต่ยังไม่โดดเด่นขนาดต้องทึ่งอะไร ซึ่งอาจจะมาจากหลายปัจจัยเช่นบทครึ่งหลังนี่เริ่มโฟกัสไปที่เจน รวมถึงบทหนังที่ย่ำแย่จนเขาทำได้เพียงแสดงประคองฉากนั้นให้จบ ๆ ไป (ปีนี้คนที่ทำให้ทึ่งได้ยังมีคนเดียวคือมาริยง กอตียาร์ ส่วนฝ่ายชายถ้าวัดกันที่การถ่ายทอดอารมณ์เพียว ๆ ยกให้สตีฟ คาเรลล์นำอยู่)
6) ตัววัตถุดิบสำหรับทำบทหนังค่อนข้างมีความนุ่มนวลเพราะสร้างมาจากหนังสือที่เขียนโดยเจน อดีตภรรยาของฮอว์คิง ในภาพรวมแล้วเราสัมผัสได้นะว่าเจนต้องรักสามีขนาดไหนถึงจะอยู่กับคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ยากลำบาก แล้วฮอว์คิงต้องเสียสละขนาดไหนถึงจะยอมเสียคนรักของตัวเองให้คนอื่นที่เหมาะสมเพราะอยากให้เธอได้ใช้ชีวิตที่ปกติ
7) อย่างไรก็ตามตัววัตถุดิบเดียวกันนี้ถ้าหากไม่ใช่การทำหนังคนที่ยังมีชีวิตอยู่มันคงจะเป็นด้านหม่นหมองพอสมควร เพราะเราจะได้เห็นทั้งประเด็นการหย่าร้าง สถานะการถูกพูดถึงในสังคม และการมีใจให้คนอื่นในขณะที่ตัวเองมีครอบครัวอยู่แล้ว ถึงกระนั้นมันก็น่าสนใจใช่ไหมที่วัตถุดิบชิ้นนี้นำมาถ่ายทอดเป็นหนังโรแมนติกได้ทั้งที่มันมีมุมเช่นนี้
8) คงไม่ต้องบอกว่า The Theory of Everything คืออีกหนึ่งหนัง Oscar bait ที่มาทั้งสูตรหนังชีวประวัติแบบอนุรักษ์นิยมเล่าเรื่องทื่อ ๆ เป็นเส้นตรง พูดถึงการต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิต และส่วนตัวรู้สึกผิดหวังพอสมควรที่หนังคุณภาพแค่นี้มีชื่อในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การเปิดทางให้หนังนอมินีเพิ่มขึ้น มันควรจะเพิ่มหนังดีที่ไม่ใช่จริตกรรมการออสการ์มากกว่าจะเป็นหนังสูตรออสการ์แต่คุณภาพไม่ถึงขั้น
Director: James Marsh
book: Jane Hawking
screenplay: Anthony McCarten
Genre: biography, romance, drama
6/10
Review : The theory of everything (2014)
แนว : Biography,Drama,Romance
ความรักคือพลัง ความหวังคือชีวิต
.
.
The Theory of everything นำเสนอเรื่องราวชีวประวัติของ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก (แสดงโดย Eddie Redmayne) วัยหนุ่มที่ได้พบรักกับเจน ไวลด์ (แสดงโดย Felicity Jones) ก่อนที่หลังจากนั้นเขาจะป่วยเป็นโรค ALS ( Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือที่เรียกกันว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถใช้ประสาทสัมผัสสั่งกล้ามเนื้อให้ทำงานได้และเริ่มมีอาการหนักขึ้น หมอบอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน 2 ปี แต่กระนั้น…ทั้งสองก็พร้อมจะสู้และไม่ยอมแพ้ต่อโรคร้ายนี้ไปด้วยกัน
หนังไม่เพียงแต่พาให้เราไปรู้จักกับชีวิตของสตีเฟน ฮอว์กิ้ง แต่ยังทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวความรักที่งดงามจนสัมผัสได้ และหนังได้ทำการเดินเรื่องควบคู่กับอารมณ์เหล่านี้ไปได้อย่างดีเยี่ยม ให้มุมมองและแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอยู่มากขึ้นอีกเหลือล้น การเดินเรื่องนั้นเร็ว กระชับ ด้านภาพก็สวยดี หลายฉากมีเล่นกับแสงสีสวยงาม โดยรวมน่าประทับใจทุกอย่าง แต่กระนั้นเองก็ยังมีจุดน่าสังเกตเล็กๆน้อยๆที่ยังทำให้รู้สึกไม่ ‘อิ่ม’ และไม่อินแบบที่ควรจะเป็น
หน้าหนังอาจจะดูเป็นหนังรักเกือบทั้งหมดทั้งมวล ซึ่งก็เป็นจริงอย่างว่าแต่แค่ในช่วงแรกของหนังที่ดู Romance จนดูเป็นหนังรักที่ดูไม่คล้ายกับหนังชีวประวัตินัก แต่กระนั้นเมื่อเรื่องดำเนินไปผมก็พบว่าหนังมันตั้งใจจะสื่อสองสิ่งนี้ควบคู่กันไปต่างหาก และประเด็นไม่ได้อยู่เพียงที่บอกว่า Stephen Hawking เป็นใคร แต่ยังให้คนดูได้รู้จักกับความรักครั้งแรกของเขา และหนังก็กำลังสื่อว่า ความรัก คือแรงผลักดันที่เต็มไปด้วยชีวิตทำให้โลกนี้มีความหวังมากกว่า แต่ในเรื่องทฤษฎีต่างๆของสตีเฟน หนังตั้งใจหยิบเฉพาะเจาะจงทฤษฎีที่คาดว่าสำคัญที่สุดในการเล่า จึงไม่ได้กล่าวว่านอกจากทฤษฎีที่ทำให้เขาโด่งดังกลายเป็นพุแตกชั่วข้ามคืนนั้นมีอะไรอย่างอื่นที่น่าสนใจอีกบ้างไหม อย่างไรก็ดี…ภาพรวมของหนังบ่งบอกได้ว่าหนังควรค่าแก่การดูสักครั้ง เพื่อที่จะได้เรียนรู้ความหวังอันไม่สมบูรณ์ แต่กลับประสบความสำเร็จทั่วโลกอย่างน่าจดจำ
การถ่ายทอดอารมณ์ และการตัดต่อ+เดินเรื่อง บางช่วงยังทำได้ไม่สมู้ดเท่าไหร่ เห็นถึงข้อบกพร่องอย่างการเดินเรื่องที่กระชับเกินไปจนเหมือนข้ามไปเป็นฉากๆโดยที่ไม่มีที่มาที่ไปบอกกล่าว และอารมณ์ค่อนข้างจะแข็งทื่ออยู่สักหน่อย (แต่ขอเน้นย้ำว่า บางช่วงเท่านั้น!) แต่โดยรวมเพราะบทขับให้องค์ประกอบหลายอย่างเด่นขึ้นแทน รวมถึงการมีนักแสดงระดับออสการ์มาเล่น ถือเป็นการแสดงร่วมกันของดาราทั้งสองที่น่าจดจำที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
นี่เป็นหนังเรื่องแรกที่ทำให้ผมได้รู้จักกับ Felicity Jones อย่างเต็มตัว และก็พบว่าเธอเล่นดีใช้ได้มากๆ แม้ด้านบทของเธอจะไม่ได้สั่นสะเทือนอารมณ์ แต่การแสดงคู่กับ Eddie นั้น สามารถส่งความรู้สึกที่แทบจะสัมผัสได้เลยจริงๆ และเธอยังสะสวยอีกต่างหาก
ณ จุดนี้ต้องยอมรับว่าการแสดงของ Eddie Redmayne นั้นสุดยอดจริงๆ ด้านตัวละคร Stephen Hawking เป็นคนที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ และ Eddie ได้ถ่ายทอดทุกอารมณ์ ความเป็นตัวของชายคนนี้ได้เยี่ยมยอดน่าทึ่งจนต้องขอลุกขึ้นยืนปรบมืออย่างชื่นชมดังๆ ทั้งท่าทาง สีหน้า การพูด แววตา และทุกอย่างมันใช่ไปหมดจนไม่อยากจะเชื่อว่านี่คือเอ็ดดี้! นักแสดง ที่ไม่ใช่สตีเฟน ฮอว์กิ้ง!!
อย่างไรก็แล้วแต่ การนำชีวประวัติของบุคคลระดับสุดยอดคนนึงของประวัติศาสตร์มาทำเป็นหนังซึ่งไม่ง่าย แต่การเขียนร้อยเรียงบทก็ทำออกมาได้สวยงาม เป็นขั้นเป็นตอน และเห็นภาพชีวิตของเขาจริงๆ เป็นหนังที่น่าชื่นชมในเรื่องของการแสดงเป็นอย่างมาก แม้อารมณ์ยังถ่ายทอดได้ไม่ดี แต่ก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่ออกแนวมีความหวังขึ้นมากกับชีวิตของตัวเองหลังดูจบ ส่วนพาร์ทที่ดีและชอบที่สุดของหนังคือการบอกกับคนดูว่า ‘ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้’ และตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ ก็ยังมีความหวัง…และแม้ชีวิตเราจะแย่เพียงใด มันจะต้องมีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ดีและทำได้สำเร็จ ดังคำที่สตีเฟน ฮอว์กิ้งพูดไว้ เสียดแทงและตรงต่อความรู้สึก และมันเป็นหนังที่เพิ่มพลังชีวิตให้กับคนที่กำลังหมดหวัง ท้อแท้ได้ดี รวมถึงการเห็นคุณค่าของคนที่เราอยู่ด้วย
The Theory of everything ไม่ใช่แค่ทฤษฎีอีกต่อไป…ในวันนี้ Stephen Hawking ได้พิสูจน์มากกว่าทฤษฎี นั่นคือการใช้ชีวิต ที่ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้จริงๆ!!
.
.
“However difficult life may seem, there is always something you can do and succeed at.” Stephen Hawking
ไม่ว่าชีวิตจะดูแย่มากเพียงใด จะมีสิ่งที่เราทำได้และทำสำเร็จได้เสมอ…ตราบใดที่มีชีวิตอยู่ ก็ย่อมมีหวัง
.
.
คะแนน 8/10
The Midnight Sky (2020) สัญญาณสงัด
A Beautiful Mind (2001) ผู้ชายหลายมิติ
The Imitation Game (2014) ดิ อิมมิเทชั่น เกม ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก