เรื่องย่อ : The Man Who Knew Infinity (2015) อัจฉริยะโลกไม่รัก ดูหนังออนไลน์ หนังใหม่ ดูหนังHD ดูหนังฟรี MovieHD24 หนัง2024 หนังออนไลน์ Full HD
The Man Who Knew Infinity (2015) อัจฉริยะโลกไม่รัก
ศรีนิวาสะ รามานุจัน (เดฟ พาเทล) เด็กบ้านนอกอัจฉริยะที่ศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ขั้นสูงด้วยตัวเอง เขาถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยเนื่องจากความหลงใหลในวิชาคณิตศาสตร์ ที่ทำให้เขาไม่สนใจเรียนวิชาอื่นเลย รามานุจันอยากจะเดินตามความฝันในการเรียนวิชาที่เขารัก แม้จะถูกห้ามจากเพื่อนและครอบครัวมากมาย เขาก็ยังเขียนจดหมายส่งไปหาศาสตราจารย์ จี.เอช. ฮาร์ดี้ (เจเรมี่ ไอรอนส์) ผู้สอนคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยทรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ท่ามกลางความเคลือบแคลงที่อาจารย์คนอื่นมีต่อรามานุจัน ฮาร์ดี้กลับมองเห็นความยอดเยี่ยมในพรสวรรค์ที่หนุ่มอินเดียผู้นี้มี จากนั้นเขาจึงพารามานุจันมาเข้าเรียนที่วิทยาลัย เพื่อรับฟังทฤษฎีที่รามานุจันเสนอแก่เขา
[CR] Review ฉบับพอสังเขป : อัจฉริยะโลกไม่รัก (The man who knew infinity)
**SPOILED ALERT**
รีวิวประกอบเวอร์ชั่นหนังสือไปในตัวค่ะ
.
.
ไปดูมาที่โรงหนังLido2ค่ะ(ตั๋วถูกดี) เป็นหนังที่—–คำโปรยไม่ตรงกับเนื้อหาข้างในอย่างแรงตั้งแต่คำว่าโลกไม่รักล่ะ(ชีวิตเขาลำบากเพราะทำอะไรพิสดารจากชาวบ้านแต่ใช่ว่าไม่มีคนรัก) เราเคยอ่านเวอร์ชั่นหนังสือเมื่อหลายปีก่อน เมื่อมารู้ว่าถูกสร้างเป็นหนังแล้วอย่างกระทันหันก็ดีใจมากเหมือนสิ่งที่เคยประทับใจมากในอดีตวนกลับมาหาเราอีกครั้ง พูดตามความรู้สึกจริง คือฉบับหนังนี้ตีความแตกต่างจากความรู้สึกที่เราได้จากหนังสือ(คงเป็นเรื่องปกติเหมือนแฟน ๆ วรรณกรรมต่าง ๆ รู้สึกกับฉบับภาพยนตร์) แต่จุดที่ดีที่สวยงามบนหนังก็ทำเราพีคมากจนน้ำตาร่วง (เป็นคนที่เห็นใจคนเก่ง ๆ ที่ปรับตัวเข้ากับสังคมรอบข้างไม่ได้)
.
ตั้งแต่อ่านเวอร์ชั่นหนังสือมารามานุจันก็เป็นไอดอลของเรามาเสมอ
.
รามานุจันเป็นชาวอินเดียที่สัมผัสถึงความลับของตัวเลขได้โดยธรรมชาติ (โดยเฉพาะรูปแบบของจำนวนเต็มบวก) สูตรคณิตศาสตร์ที่โลกตะวันตกใช้เวลานับร้อยปีในวงการคณิตศาสตร์ต่อยอดตกผลึกกันมา รามานุจันสามารถเริ่มด้วยตัวเองจากศูนย์ไปถึงจุดนั้นได้ด้วยตัวคนเดียวในเวลาไม่กี่ปีในช่วงวัยหนุ่ม รายละเอียดน่าสนใจที่หนังตัดของหนังสือไปคือรามานุจันเขาคิดค้นศึกษาเองทั้งหมดในหัวบนกระดานกระดาษของเขา ดังนั้นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ก็เป็นออริจินั่ลของเขา ทำให้สูตรของเขาหน้าตาต่างจากสูตรสากลในวงการเป็นอย่างมาก สิ่งท้าทายสำหรับคนที่มาสนับสนุนเขาอย่างฮาร์ดี้จึงไม่ใช่แค่สูตรที่โลดโผนโจนทะยาน แต่ต้องมาเกลากันใหม่ตั้งแต่ต้นว่าแต่ละสัญลักษณ์ที่รามานุจันเขียนมาเมื่อเทียบกับสัญลักษณ์สากลคืออะไร——-ความลำบากของรามานุจันจึงไม่ใช่การหาสูตรคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่(เพราะเขาพบไปแล้ว) แต่คือการทำยังไงให้สูตรของเขาเป็นที่เข้าใจของคนอื่นและได้รับการยอมรับในสังคมได้มากกว่า
.
ฉบับภาพยนตร์กิ้งก่ายกความประทับใจให้คุณลุงชาวอังกฤษที่แสดงเป็นฮาร์ดี้ เห็นความพยายามในการสร้างบุคลิกของฮาร์ดี้ นักคณิตศาสตร์ที่ความคิดโอหังแต่ยืนไหล่ห่อ ๆ ดูแปลกแยกจากคนอื่นในแบบคนที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบหรือผ่าเผยอะไรนัก(ในขณะที่นักแสดงมีออร่าบิ๊กบอสมาก) บทบาทของฮาร์ดี้จะเรียกว่าเป็นผู้สร้างชีวิตหรือทำลายชีวิตรามานุจันก็ได้ เขาเป็นคนเดียวที่กล้าอยู่ข้างเดียวกับรามานุจันและพยายามสุดลิ่มทิ่มประตูเพื่อให้สูตรคณิตศาสตร์ของรามานุจันถูกคนวงการคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษจอมบ้ายศบ้าอย่างและอีโก้สูงลิบยอมรับได้ว่าเหล่านี้เป็นสูตรที่ถูกต้อง แต่ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ได้สนใจความรู้สึกส่วนตัวหรือชีวิตส่วนตัวของรามานุจันเลยจนรามานุจันใช้ชีวิตไม่ถูกสุขลักษณะอนามัยกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรคร้ายแรงและเสียชีวิตในวัย 32 ปี ความยิ่งใหญ่และได้รับการยอมรับในวงการคณิตศาสตร์ระดับแลนด์มาร์กของโลกแลกมากับการแผดเผาชีวิตเขาจนวอดในเวลาอันสั้น
.
นอกจากนั้นสิ่งที่มีในหนังสือแต่หนังไม่ได้เอามาใส่ยังมีอีกเยอะ เช่น ความเป็นคนพิสดารของรามานุจัน (เราว่าในหนังทำรามานุจันเป็นคนปกติและน่ารักกว่าตัวจริงเป็นอย่างมาก) ในหนังสือเล่าถึงตัวจริงเขาว่าออกจะเหมือนคนออทิสติกด้วยซ้ำ รามานุจันสนใจแต่คณิตศาสตร์จนผูกเชือกรองเท้าตัวเองไม่เป็นค่ะ และเคยเกือบนอนหนาวตายในคืนแรก ๆ ที่อังกฤษเพราะดึงผ้าห่มที่ขึงตึงบนเตียงมาห่มตัวไม่ได้ (คาดว่าฮีคงไม่รู้หรือไม่คิดจะสำรวจว่าเป็นผ้าห่มกระมัง) และในหนังพยายามชงโมเมนท์โรแมนติกเล็ก ๆ ระหว่างฮาร์ดี้และรามานุจันแทรกเข้ามา เหมือนโซลเมท เหมือนคนที่มามอบโลกอีกด้านให้แก่กันและกัน (ฮาร์ดี้สร้างพื้นที่ในสังคมให้รามานุจันได้ และรามานุจันก็สร้างความรู้สึกเชื่อถึงการมีอยู่ของพระเจ้าขึ้นมาให้ฮาร์ดี้)
.
.
สรุปคือเราชอบหนังเรื่องนี้นะ ชอบมาตั้งแต่ที่เป็นชีวิตจริงของชายชื่อรามานุจันเขาแล้ว แม้หนังจะเพิ่มความนุ่มนวลและโรแมนติกมากขึ้นเพื่อความบันเทิงทางอารมณ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ภายในเวลาชั่วโมงเศษ(ส่วนตัวไม่คิดว่าโมเมนท์จริงระหว่างรามานุจันและภรรยาเขาจะหวานจ๋อยขนาดนั้น) แต่ส่วนที่เป็นแก่นของรามานุจันก็รักษาไว้และนำมาพูดถึง คือ ตอนที่ตัวละครอย่างรามานุจันและฮาร์ดี้พูดถึงรูปแบบและความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ เราประทับใจที่เขากำกับและแสดงให้รู้สึกได้ว่ารามานุจันและฮาร์ดี้เชื่อว่าสิ่งนั่นมีจริงอยู่จริง ๆ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วเพียงรอแค่คนมีความสามารถมากพอเข้าไปค้นพบ บางทีการที่คนจะสามารถเข้าถึงและไปเตะกุญแจไขความลับของสิ่งที่เสกลใหญ่โดขนาดนั้น คงต้องเริ่มจากใจที่เชื่อถือถึงอะไรขนาดใหญ่โตได้ในเสกลระดับพระเจ้าละมั้ง
.
ถ้ามองในแง่ความเป็นมนุษย์แบบฟุ้งสักนิด สูตรคณิตศาสตร์ระดับมหัศจรรย์ที่ไขปริศนาเรื่องนึงของตัวเลข รามานุจันเป็นผู้ค้นพบ ฮาร์ดี้เป็นผู้เผยแพร่ ฮาร์ดี้ไม่เคยเชื่อเรื่องพระเจ้า เขาเป็นชาวอังกฤษที่มีตำแหน่งหน้าตาในวงการคณิตศาสตร์ของประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความหยิ่งทะนงตนที่สุด แต่เขายอมคุกเข่าและวางทิฐิส่วนตัวทุกอย่างลงอย่างคนที่เห็นว่าตัวเองด้อยกว่าชาวอินเดียที่ชื่อรามานุจันเพื่อผลงานทางวิชาการแห่งวงการคณิตศาสตร์ ในเรื่องเราจะเห็นหลายตัวละครที่โอหัง ปฏิเสธงานของรามานุจันเพราะเรื่องภายนอกอย่างเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด ที่มา หลายคนรับไม่ได้ที่ตัวเองจะกลายเป็นคนโง่เพราะคนต่างชาติแปลกหน้าจะข้ามหน้าข้ามตามาเป็นอัจฉริยะเกินหน้าตน แต่ฮาร์ดี้ทำได้ และเขาทุ่มเทที่จะทำ ฮาร์ดี้จึงได้รับพรที่จะเป็นผู้ร่วมแตะรหัสของพระเจ้า(?)ชิ้นนึงร่วมกับรามานุจันในที่สุด และรามานุจันที่ยอมจะเชื่อและทำตามคำแนะนำของฮาร์ดี้ คนต่างชาติแปลกหน้าแห่งประเทศเจ้าอาณานิคมที่รามานุจันยอมเสี่ยงหันหลังให้ประเพณีศาสนาหลายอย่างที่เคร่งครัด ทิ้งแม่ ทิ้งคนรัก ข้ามน้ำข้ามทะเลมาหา ทรมานทำในสิ่งที่ผิดต่อความรู้สึกและสัญชาติญานเขา ทนกับช่วงเวลาที่กัดกร่อนจิตใจและร่างกายเขา รามานุจันจึงกลายเป็นคนที่หลายล้านคนบนโลกจดจำได้และนำผลงานที่เขาค้นพบใช้ศึกษาและพัฒนาวงการคณิตศาสตร์ด้านต่าง ๆ ต่อไปในที่สุด—— สรุปว่า ความมหัศจรรย์ของทั้งสองคนไม่ใช่แค่สูตรคณิตศาสตร์ที่ออกมา แต่มันเกิดจากการตัดสินใจและการลงมือกระทำที่มหัศจรรย์มาตั้งแต่ต้นแล้วค่ะ (ผ่านทุกด่านหินฉาบซีเมนท์อย่าง สังคม การเมือง ศาสนา ความเป็นมนุษย์——แบบว่าครบ)
.
สุดท้ายที่อยากบอกก็—–อัจฉริยะมักจะทุกข์ยากเพราะหาพื้นที่ยืนร่วมกับสังคมรอบข้างไม่ได้เสมอ และสังคมรอบข้างก็มักจะทุกข์ทนกับความรู้สึกว่าตนเองพยายามมากเท่าไหร่ก็ยังด้อยหรืออับแสงกว่าใครที่ถูกเรียกว่าอัจฉริยะเช่นกัน——แต่ละฝ่ายต่างมีความเจ็บปวดแตกต่างกันไปคนละรูปแบบกัน โลกเรานี่น่าจะรักและเข้าใจความเจ็บปวดของกันและกันเยอะ ๆ เน้อ——และก็ เอ้อ อัจฉริยะมีอยู่จริง ——ขอบคุณนะคะที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้
10/10
บทและการแสดงยอดเยี่ยม
ภาพยนตร์ที่สำคัญ ผสมผสานเรื่องราวความรักเข้ากับธีมที่ลึกซึ้งพอๆ กันอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับภาระทางศีลธรรมในการเลี้ยงดูผู้ที่ไม่มีสิทธิพิเศษ ในตอนแรก ฉันกังวลว่าจะแยก Dev Patel ออกจากบทบาทใน Marigold Hotel ไม่ได้ แต่หลังจากพูดประโยคสองสามประโยคที่ฟังดูทันสมัยเกินไป เขาก็พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
Jeremy Irons น่าดึงดูด และบทบาทอื่นๆ ก็พัฒนาอย่างเหมาะสม ทิศทาง จังหวะ ฉาก เสื้อผ้า เรื่องราว เพลงประกอบ ล้วนดึงดูดความสนใจ
เมื่อฉันดูตอนจบ ผู้ชมปรบมือให้ ในความเป็นจริง ตอนจบ เราอยากให้มันยาวกว่านี้ – อยากดูต่อ
8/10
ละครประวัติศาสตร์ยอดเยี่ยม
เพิ่งดูหนังเรื่องนี้ที่เทศกาลภาพยนตร์ SF ฉันคิดว่ายอดเยี่ยมมาก ทำไมน่ะเหรอ? มันรวมความบันเทิงหลายระดับไว้ด้วยกัน: คณิตศาสตร์เชิงปัญญาที่เกี่ยวข้องและความเป็นจริงของการแข่งขันทางวิชาการ ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเพณี ทัศนคติ อคติ และความเชื่อของอินเดียและอังกฤษ ความรัก/มิตรภาพทางอารมณ์ระหว่างผู้ชาย ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย และระหว่างเด็กกับพ่อแม่ และความไร้มนุษยธรรมต่อมนุษย์ด้วยกัน: ผู้ก่อสงครามกับผู้รักสันติ ผู้เคร่งศาสนากับผู้ไม่เคร่งศาสนา ปัจเจกบุคคลกับกลุ่ม ความเข้าใจผิด และการขาดสติปัญญาทางอารมณ์ในหลายๆ ด้าน
ฉันเข้าใจคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็ไม่สำคัญและไม่เปลี่ยนความชื่นชมโดยรวมของฉันที่มีต่อเรื่องราวและทุกระดับที่เกี่ยวข้อง
ขอชื่นชมทุกคนที่สร้างหนังเรื่องนี้ บท การแสดง การถ่ายภาพ การกำกับ ทุกอย่างยอดเยี่ยมมาก…
The Theory of Everything (2014) ทฤษฎีรักนิรันดร
The Midnight Sky (2020) สัญญาณสงัด
A Beautiful Mind (2001) ผู้ชายหลายมิติ
The Imitation Game (2014) ดิ อิมมิเทชั่น เกม ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก