เรื่องย่อ : The Imitation Game (2014) ดิ อิมมิเทชั่น เกม ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก ดูหนังออนไลน์ หนังใหม่ ดูหนังHD ดูหนังฟรี MovieHD24 หนัง2024 หนังออนไลน์ Full HD
The Imitation Game (2014) ดิ อิมมิเทชั่น เกม ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อลัน ทัวริง อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษพยายามถอดรหัสรหัสอีนิกมาของเยอรมันด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนนักคณิตศาสตร์ ขณะเดียวกันก็พยายามจัดการกับชีวิตส่วนตัวที่มีปัญหาของเขา
รีวิวหนัง : The Imitation Game ผลงานของชายผู้แตกต่าง
ว่ากันว่าในช่วงสงคราม ข่าวสารคือสิ่งที่มีมูลค่าสูงสุด ไม่นานมานี้อังกฤษเพิ่งเปิดเผยความลับที่ปกปิดมานานกว่า50ปีว่า อลัน ทัวริ่ง นักคณิตศาสตร์อาจารย์มหาลัยที่ถูกจับฐานเป็นรักร่วมเพศ เคยเข้าร่วมโครงการลับกับทางการอังกฤษเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่2ในการช่วยถอดรหัสลับนาซีจากเครื่องอีนิกมา และเขาคือบุคคลที่สร้างเครื่องมือชื่อคริสโตเฟอร์ซึ่งสามารถถอดรหัสทุกอย่างในโลกได้สำเร็จ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ฝ่ายพันธมิตรพลิกสถานการณ์กลับมาชนะสงคราม นอกจากนั้น สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ของเขายังเป็นต้นแบบของเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ผมและคุณกำลังใช้งานอยู่ในตอนนี้ด้วย
เล่าเรื่องราวของ อลัน ทัวริ่ง (เบเนดิคต์ คัมเบอร์แบทช์) นักคณิตศาสตร์หนุ่มชาวอังกฤษที่แปลกแยกจากสังคม เขามีนิสัยประหลาด พูดจาขวานผ่าซาก เย่อหยิ่ง และมั่นใจในตัวเองสูง แต่ความอัจฉริยะเรื่องการแก้ไขปริศนาทำให้ฝ่ายทหารยอมรับเขาเข้าทำงานในทีมลับที่รวมคนหัวกะทิจากหลากหลายสาขาเอาไว้ พวกเขามีภารกิจในการถอดรหัสตัวเลขเป็นล้านล้านตัวที่แฝงมากับข้อความคำพูดของทหารเยอรมันซึ่งออกอากาศผ่านเสียงตามสายภายในเวลา24ชั่วโมง ทุกเที่ยงคืนนาซีจะตั้งรหัสใหม่ หากถอดหรัสไม่ได้พวกเขาก็ต้องเริ่มทำทุกอย่างใหม่ทั้งหมด
อลัน ทัวริ่ง ใช้ความกล้าและความเถรตรงจนได้ขึ้นเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งก็สร้างความไม่พอใจให้กับใครหลายคน เขาไล่คนเก่าออกไป2 พร้อมกับเปิดทดสอบคนใหม่เข้าร่วมโครงการด้วยเกมอักษรไขว้ อลัน ถูกใจความฉลาดของ โจแอน คลาร์ก (เคียร่า ไนท์ลีย์) จึงรับเธอมาเป็นหญิงสาวคนเดียวของทีม รัฐบาลอังกฤษเสียงบประมาณให้เขาไปมากมาย ทีมถอดรหัสอีนิกมาจึงถูกกดดันและตั้งความหวังมาก พวกเขาต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะทุกวินาทีที่ผ่านไป เกี่ยวพันถึงชีวิตคนหลายล้านคน
บทหนังเข้มข้น มีจุดที่ทำให้ผู้ชมลุ้นตามพอสมควร แม้ว่าจะเดินเรื่องตัดสลับ อดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ก็ไม่ได้ทำให้สับสน ซํ้าการเรียงลำดับเวลาแบบนี้ยังทำให้เราเข้าใจที่มาที่ไปพฤติกรรมของ อลัน ทัวริ่ง ได้ดีขึ้น ถึงจะเป็นหนังสงครามที่ไม่มีฉากต่อสู้ด้วยอาวุธ แต่การต่อสู้ด้วยความคิดบนแผ่นกระดาษ การถอดรหัสลับจากวิทยุ ก็ทำให้มันเป็นภาพยนตร์สงครามที่ดูสนุกในรูปแบบใหม่ ติดตรงที่พล็อตยังคงทำตามสูตรสำเร็จ
ด้วยความที่เป็นหนังชีวประวัติผู้กำกับจึงเน้นไปที่ความทุ่มเทของ อลัน กับการถอดรหัสที่หลายคนพูดว่าไม่สามารถถอดได้ ส่วนประเด็นเรื่องเพศและความแปลกแยกในสังคมก็ถูกนำเสนอข้างเคียงได้น่าสนใจชัดเจน มีพลัง เชิดชูกลุ่มคนที่แตกต่างแต่มีความสามารถ ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับหนังสงครามโลกเรื่องอื่น มีพาร์ทสืบสวนนิดหน่อย มีศัพท์เทคนิคคณิตศาสตร์บ้าง ทว่าไม่ซับซ้อนเกินเข้าใจ
ต้องบอกว่านี่เป็นการแสดงที่พีคที่สุดของ เบเนดิคต์ คัมเบอร์แบทช์ ในบท อลัน ทัวริ่ง เขาถ่ายทอดอารมณ์ออกมาอย่างยอดเยี่ยม ทำให้คนดูเชื่อในบุคลิกเนิร์ดๆ เอาจริงเอาจัง รวมถึงทำให้เราสงสาร เห็นใจ และเข้าใจ คนเพศที่สาม ไม่แปลกที่เขามีชื่อลุ้นรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมเวทีออสการ์ ขณะที่ เคียร่า ไนท์ลีย์ ซึ่งเล่นเป็น โจแอน โดดเด่นในหมู่นักแสดงชาย ความสดใสของเธอทำให้โทนหนังไม่หม่นเศร้าจนเกินไป
อลัน ทัวริ่ง เป็นตัวแทนของคำพูดที่ว่า ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ดังนั้น หากเรายอมรับในผลงานของใครสักคน เราจึงควรยอมรับตัวตนของเขาด้วย น่าเสียดายมนุษย์จำนวนมากยังมีความคิดกีดกันกลุ่มคนบางกลุ่ม เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้ชอบหรือมีชีวิตเหมือนกับคนส่วนใหญ่ในสังคม ซํ้าร้ายในหลายประเทศยังมองเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องผิดบาป และลงโทษในสิ่งที่พวกเขาเองก็ไม่ได้อยากเป็น
คะแนน 8.5/10
โดย นกไซเบอร์
[CR] Review – The Imitation Game ซับซ้อนกว่ารหัสนาซีก็จิตใจมนุษย์เนี่ยละ
The Imitation Game (2014)
Sometimes it’s the very people who no one imagines anything of who do the things no one can imagine.
(บางครั้งคนที่ไม่มีใครคาดคิดคือคนที่ทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันได้)
หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงชีวประวัติของ Alan Turing โดยอิงจากหนังสือ “Alan Turing: The Enigma” โดย Andrew Hodges ซึ่งหนังเรื่องนี้ยังคว้า Oscar ในสาขา Best Writing, Adapted Screenplay หรือ บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมนั่นเอง
เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง Alan Turing (Benedict Cumberbatch) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องถอดรหัส Enigma ของนาซีและนำมาซึ่งชัยชนะให้กับอังกฤษ
แน่นอนว่าหนังชีวประวัติส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถคาดเดาเรื่องได้บางส่วน สำหรับเรื่องนี้เราก็คงผ่านหูผ่านตาในคาบประวัติศาสตร์กันมาบ้าง แต่ใครจะรู้ละว่าหนังมันแฝงรายละเอียดอะไรไว้เยอะมากกว่าแค่เรื่องราวของอัจฉริยะถอดรหัสสุดโหด
ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดเลยคือ “การยอมรับความคิดที่แตกต่าง” เนื่องจาก Alan เป็นคนที่ดูหยิ่งโอหัง เข้ากับผู้อื่นได้ยากและยังมีรสนิยมที่ไม่เหมือนคนอื่นในสังคมยุค40s (จุดนี้พีคมากครับ เป็นจุดที่มาเผยในช่วงหลังซึ่งเป็นกลายประเด็นใหญ่เลย) ซึ่งประเด็นนี้ถูกอธิบายอย่างเป็นนัยกับชื่อหนัง “The Imitation Game” หรือ “เกมลอกเลียนแบบ” เป็นเกมที่อลันคิดค้นเพื่อใช้ทดสอบว่าเป็นความคิดของคนหรือเครื่องจักร
ทั้งนี้เพจ “สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย” ได้กล่าวว่า Alan Turing ในหนังเรื่องนี้เป็นโรค “Asperger’s Syndrome” อย่างชัดเจนซึ่งมีอาการคือ 1.ความผิดปกติในการสร้างความสัมพันธ์ 2.มีพฤติกรรมซ้ำๆมีความสนใจที่จำกัด ทำให้ต้องชื่นชม Benedict มากๆที่สามารถเข้าถึงและสื่อความคิดและการกระทำของ Alan ออกมาได้อย่างทรงพลังมากๆ
แต่จุดที่ไม่ประทับใจเลยคือ ฉากที่เครื่องถอดรหัส Enigma สามารถถอดรหัสได้สำเร็จ (ถือว่าไม่สปอยนะครับเนื่องจากเป็นชีวประวัติที่รู้กันอยู่เเล้วว่า Alan ทำสำเร็จ) ความปลื้มปิติดีใจของ Alan และลูกทีมมันดูน้อยเกินไปเนื่องจากหนังกดดันและสร้างอุปสรรคมากมายมาก่อนหน้านี้เเต่กลับทำฉากที่เครื่องถอดรหัสทำสำเร็จนี้ได้ไม่สุด ถึงเเม้ว่าหนังอาจไม่ได้นำประเด็นนี้มาเป็นประเด็นหลักซะทีเดียวก็ตาม
เข้มข้น มีอะไรมากกว่าที่เราคิด นักแสดงทำได้สมบทบาท ตีแผ่ประเด็นการยอมรับความคิดของตัวเองและผู้อื่นได้ดีมากๆ
7.5/10
#รีวิวที่ 22/2015 | The Imitation Game (2014)
1) ความรู้สึกแรกหลังดูจบคือไม่คิดว่ามันเป็นหนังยกย่องวีรกรรมของ ‘อลัน ทัวริ่ง’ เลยแม้แต่นิดเดียว เรารู้สึกว่านัยเรื่องรสนิยมทางเพศของเขามันเด่นจนเห็นถึงนัยแฝงถึงการเรียกร้องฐานะทางสังคมของกลุ่มรักร่วมเพศ ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนชื่อเครื่องถอดรหัสอีนิกม่าตามประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นชื่อ “คริสโตเฟอร์” รักแรกของเขา
2) ผู้กำกับทำหนังสไตล์ play safe อยู่มาก ตัวอย่างเช่น จะพูดถึงเกย์แต่ก็ออกมาในลักษณะ ‘ปกปิดสถานะ’ ไม่เล่นในมุมเปิดเผยเวลาเขาอยู่กับเกย์ด้วยกันซึ่งคนในสังคมส่วนใหญ่เวลานี้ยังรับไม่ได้ (โดยเฉพาะกรรมการออสการ์ซึ่งเป็นคน gen ก่อน) หรือการที่พูดถึงเครื่องถอดรหัสแบบผิวเผินโฟกัสแค่ผลลัพธ์มากกว่าวิธีการเพราะรู้ดีว่าการเจาะเชิงลึกย่อมมีปัญหากับคนดูจำนวนมาก (โดยเฉพาะกรรมการออสการ์ที่มีอายุเฉลี่ย 60)
3) หนังเข้าข่าย Oscar bait หรือพูดง่าย ๆ ว่าหนังล่ารางวัล ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาทำหนังนี่ก็ถือว่าเป็นของชอบออสการ์, เนื้อเรื่องที่เป็นรอยด่างพร้อยของประวัติศาสตร์, ตัวละครที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ (ออสการ์นำชายปีนี้แสดงเป็นบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ถึง 4 คน หรือถ้านับไมเคิล คีตันแสดงเป็นตัวเองด้วยก็ครบ 5 คนเลย) แถมตัวละครจริงยังเป็นเกย์และมีบุคลิกที่เป็นปัญหากับผู้อื่นอีก (นึกถึง J.Edgar ก็เข้าข่ายเป๊ะ จนไม่ค่อยแปลกใจว่าทำไมเฮียลีโอถึงปฏิเสธจะเล่นบทนี้), เป็นหนังที่ขายโปรดักชั่น เครื่องแต่งกาย สาขาย่อยต่าง ๆ เพื่อเอาเลขจำนวนรางวัลไปขาย
4) นึกแล้วก็ยังรู้สึกเห็นใจ ‘อลัน ทัวริ่ง’ ในขณะที่วีรกรรมการอยู่เบื้องหลังชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นความลับตลอดอายุขัยของเขา แต่รสนิยมทางเพศที่เป็นเรื่องเสื่อมเสียและผิดกฎหมายของยุคสมัยนั้นกลับถูกเปิดเผยเป็นเรื่องฉาว แม้ในภายหลังเขาจะได้รับการอภัยโทษ แต่นั่นคือการล้างความผิดของเขาคนเดียวทั้งที่ในช่วงเดียวกันยังมีกลุ่มรักร่วมเพศอีกมากที่ถูกตัดสินให้มีความผิด
5) หนังยังไงก็คงเป็นหนัง ถ้าอยากเอาข้อเท็จจริงคงต้องไปดูสารคดีนั่นแหละ จุดที่รู้สึกว่าหนังทำสำเร็จคือการเขียนบทหนังโน้มน้าวให้คนดูเชื่อว่า ‘อลัน ทัวริ่ง’ มีอาการซึมเศร้าในช่วงกินฮอร์โมนตามคำสั่งของศาล จนเป็นสาเหตุให้ฆ่าตัวตายทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเขายังคงสร้างผลงานได้ต่อเนื่อง (คนหดหู่ซึมเศร้าจะเก่งขนาดนั้นเชียวหรือ) แถมมีความเป็นไปได้ที่การเสียชีวิตจะเป็นอุบัติเหตุเช่นกัน ซึ่งพอผู้กำกับถ่ายทอดออกมาในลักษณนี้จึงอดคิดไม่ได้ว่าเขากำลังใช้ภาพยนตร์สะท้อนความไม่เป็นธรรมที่กลุ่มรักร่วมเพศต้องเผชิญไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน
6) ชอบประเด็นที่พูดถึงอัจฉริยะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากปราศจากการช่วยเหลือจากคนรอบตัว มองตามบทหนังแล้ว ‘อลัน ทัวริ่ง’ คงล้มเหลวด้วยอุปนิสัยของเขาเป็นแน่ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากคนในทีม ต้องขอบคุณ ‘โจน คลาร์ก’ (Keira Knightley) ที่พยุงเขาให้ปรับตัวให้เข้ากับการทำงานเป็นทีมเพราะโดยเนื้อแท้แล้วเขาไม่ใช่คนเลวร้ายเพียงแต่นิสัยขี้อายและการพูดตรงไปตรงมาทำให้เข้าถึงตัวตนของเขายาก ซึ่งถ้าทุกที่มีคนที่มองผู้อื่นอย่างเห็นใจเข้าใจแบบคลาร์กก็คงจะดีเพราะทุกวันนี้คนเราตัดสินผู้อื่นด้วยไม้บรรทัดของตัวเองกันทั้งนั้น
7) ค่อนข้างประหลาดใจที่ Keira Knightley ได้เข้าชิงออสการ์กับเขาด้วย ส่วน Benedict Cumberbatch ได้เข้าตามองค์ประกอบล่าออสการ์น่ะแหละ ถ้าถามถึงการแสดงก็ดีตามที่ควรจะเป็นแต่ไม่ได้รู้สึกว้าวอะไร (ปีนี้คนเดียวที่ทำให้ทึ่งยังมีแค่ Marion Cotillard)
😎 หนังแอบพูดถึงสถานะของการอยู่เป็นคู่รักได้น่าสนใจเหมือนกัน (ถึงแม้จะไม่ถูกเน้นก็เถอะ) ผมเชื่อมาโดยตลอดว่าการอยู่เป็นครอบครัวมันไม่จำเป็นต้องประกอบด้วย “พ่อ แม่ ลูก” ตามสังคมส่วนใหญ่ บางทีการที่ชายสองคนรักกันใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันมันก็เป็นครอบครัวได้แล้ว ซึ่งพอมองถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ‘ทัวริ่ง กับ คลาร์ก’ ในหนังมันจึงสื่อออกมาในเชิงว่าไม่จำเป็นต้องมี sex กัน แค่คนสองคนอยู่ด้วยกันเข้าใจกัน ต่างคนต่างทำงานของตัวเองมันก็ดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมสมัยนั้นได้แล้ว
9) ในภาพรวมแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่าหนังสุดยอดอะไรขนาดนั้น คุณภาพกลาง ๆ ตามมาตรฐานหนังน่าดูทั่วไป ถึงพลาดไม่ได้ดูตอนนี้ก็ไม่ถึงขั้นต้องมานั่งเสียดายอะไร
Director: Morten Tyldum
book: Andrew Hodges
screenplay: Graham Moore
Genre: biography, drama, war
8/10
The Theory of Everything (2014) ทฤษฎีรักนิรันดร
The Midnight Sky (2020) สัญญาณสงัด
A Beautiful Mind (2001) ผู้ชายหลายมิติ