เรื่องย่อ : เธอ ฟอร์ แคช Love You to Debt (2024) ดูหนังออนไลน์ หนังใหม่ ดูหนังHD ดูหนังฟรี MovieHD24 หนัง2024 หนังออนไลน์ Full HD
เธอ ฟอร์ แคช Love You to Debt (2024)
ณ โลกสีเทาของเมืองชายหาดอันโด่งดังของไทย เขาคือหนุ่มหล่อนักทวงหนี้นอกระบบ ที่อาชีพของเขาแต่ละวันต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งและความรุนแรงซ้ำ ๆ วนลูปแบบไม่รู้จบ แต่เมื่อเขาที่เบื่อกับวังวนแสนจำเจกับชีวิตนักทวงหนี้ และคิดที่จะวางมือจากอาชีพนี้ไปหาอย่างอื่นทำ เจ๊ผู้เคารพรักได้ไหว้วานให้เขาปิดจ็อบสุดท้ายด้วยการสั่งให้ไปตามทวงหนี้หญิงสาวคนหนึ่ง มันจึงกลายเป็นหนี้ก้อนที่ถูกทวงคืนเป็น…ความรัก
เมื่อผมเห็นหนัง ‘เธอ ฟอร์ แคช’ มาลง Netflix ผมก็เลยเปิดดูทันที เพราะชอบญาญ่า เวลาที่เธอรับบทเป็นสาวบ้าน ๆ แบบใน ‘Fast & Feel Love’ และ ‘น้อง.พี่.ที่รัก’ ซึ่งกว่าที่ผมจะได้เห็นญาญ่าโผล่มาในนาทีที่ 25 ของหนังนั้น ผมต้องได้พบบทสนทนาของตัวละครอันน่าตกใจมากมาย
ผมได้เห็น ‘ริซซี่’ ตัวละครของป๋อมแป๋ม พูดคำว่า ‘HEE+’ อย่างชัดถ้อยชัดคำถึง 2 ครั้ง ตกใจพอควรครับ เพราะนี่คือหนังที่ฉายในโรง เท่าที่ดูหนังมาในช่วงปี สองปี นี้ไม่เคยเห็นตัวละครบนจอพูดคำรุนแรงเช่นนี้ในหนังมาก่อนเลยครับ แต่นั่นแค่นัดแรกครับ เพราะหลังจากนั้น ตัวละครต่าง ๆ ก็ยิงคำหยาบกันออกมาอย่างพรั่งพรู ทั้ง ค. ห. ไอ้เฮี่ย ไอ้สัส และอื่น ๆ อีกมากมาย คนเขียนบทคงอยากสร้างบรรยากาศความสมจริงให้กับหนัง ที่เป็นเรื่องราวของแก๊งวัยรุ่นในพัทยา
ด้วยความ ‘อึ้ง’ กับระดับความหยาบของบทสนทนาเหล่านี้ ทำให้ผมต้องเสิร์ชดูว่าหนังได้เรตอะไร คำตอบคือ “15 ปี” ซึ่งไม่ได้มีระบุไว้ในสื่อประชาสัมพันธ์ใด ๆ ของหนัง หลายคนที่รู้จักหนังเรื่องนี้ ต่างก็เห็นแต่ภาพของ ญาญ่าและไบรท์ บนโปสเตอร์หนัง ซึ่งถูกขายในภาพลักษณ์ของหนังโรแมนติกคอมเมดี้ แบบใส ๆ เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี ผมไม่รู้ว่ามีกี่ครอบครัวที่เข้าใจตามนี้ แล้วจูงเด็กเล็กไปดูแต่กลับต้องเจอกับบรรดาคำหยาบที่อัดแน่นทั้งเรื่องเช่นนี้
ผมไม่ใช่ลูกผู้ดี ที่รับไม่ได้กับคำเหล่านี้ พี่น้องเพื่อนฝูงจะรู้ดีว่าผมเป็นคนพูดจาหยาบคายเสมอกับเพื่อนและคนสนิท ตามประสาคนเรียนอาชีวะ สายช่าง ฉะนั้นผมจึงเข้าใจกับการใช้คำหยาบในสื่อบันเทิง ผมหัวเราะให้กับ “ไอ้สัส” ของน้าค่อม
ผมหัวเราะให้กับประโยครีวิวพระเครื่องของเดียร์ ใน ‘สาธุ’ “พี่คะ พระองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เหี้ย ๆ เลยค่ะ” ถ้ามันใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ พอดี ถูกที่ ถูกทาง มันจะได้ผลครับ แต่กับ 20 นาทีแรกของ ‘เธอ ฟอร์ แคช’ ผมว่ามันถูกใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินไป และไม่ได้ช่วยให้หนังน่าสนใจ ชวนติดตาม หรือเรียกเสียงหัวเราะได้แต่อย่างใด
หลายสิบปีก่อน บรรดาตลกคาเฟ่ ถูกตราหน้าว่าเป็น “สื่ออันตรายสำหรับเยาวชน” เพราะพวกตลกคาเฟ่ชอบใช้คำหยาบคาย ไม่เหมาะสำหรับเด็ก แต่ถ้าพิจารณากันจริง ๆ วันนั้น พวกเขาก็เล่นอยู่ในสถานบันเทิงยามค่ำคืน เล่นให้คนมีอายุ มีวุฒิภาวะได้รับชมกัน จะถูกนำออกมาจากคาเฟ่ก็ในรูปแบบวิดีโอให้เช่า ซึ่งถ้าจะได้รับชมกันก็ต้องไปร้านเช่า เอาม้วนวิดีโอมาใส่เครื่องดู
ซึ่งการที่สื่อเหล่านี้จะเข้าถึงเด็กได้ก็หลายขั้นตอนอยู่ ไม่ใช่แค่เปิดหน้าจอมือถือก็เข้าถึงได้แล้วแบบในวันนี้ แล้วการใช้คำหยาบของตลกคาเฟ่ ก็ถูกใช้ใน ‘บริบท’ ที่เหมาะสม จะให้เอาถาดตีหัวกัน แล้วพูด “นี่แน่ะ ไอ้บ้า” งั้นเหรอ แต่ถ้าเทียบกันแล้ว ระดับคำหยาบที่ใช้กันในสื่อบันเทิงวันนี้ทำเอา คำหยาบของตลกคาเฟ่ดูสุภาพเรียบร้อยไปเลย
ลองนึกย้อนกันไปสิ ใน ‘กวน มึน โฮ’ ปี 2553 นั้น บทของหนูนายังแค่ทำปากด่า “ไอ้เฮี่ย” แบบไม่มีเสียงเลย แล้วภาพนี้ก็กลายเป็นมีมอยู่ในโลกออนไลน์มาจนทุกวันนี้ ส่วนผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ผมชี้นิ้วไปที่ Netflix นี่เลยครับ ตัวต้นเหตุ เมื่อเป็นสื่อใหม่ที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาคัดกรองใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถนำเสนอทุกระดับความหยาบแบบไร้ขอบเขต โดยเริ่มจาก ‘ซับไตเติล’ ที่มีทั้ง ‘เฮี่ย’ ‘เย็บแม่’ ซึ่งเขาเขียนตรง ๆ เลยนะครับ มันเหมือนปรากฎการณ์แปลกใหม่ในสื่อบันเทิงบ้านเราล่ะครับ
บรรดาเพจหนังต่างก็เขียนถึงทำนองว่า “โอ้โห Netflix แปลซับเรื่องนี้ได้โคตรแรง โดนใจ” มันก็เลยเหมือนกับการได้โปรโมตฟรี ก็เลยมีเรื่องที่ 2 เรื่องที่ 3 ตามมา ยิ่งแรงคนดูยิ่งพูดถึง ได้รับการบอกต่อ แล้วมันก็เลยลามมาในบทพากย์ และสุดท้ายก็ลามมาที่คอนเทนต์ไทย ซีรีส์และหนังที่สร้างลง Netflix ก็ยึดถือรูปแบบนี้ตามไปด้วยว่าจากนี้ ‘เราจะหยาบได้แบบไม่มีขีดจำกัด
อยากให้ลองย้อนมองกันสักนิดว่า กำลังหลงทางกันอยู่หรือไม่ 10 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล ‘พี่มาก’ ‘ไอฟายแต๊งกิ้ว’ ‘ตำนานสมเด็จพระนเรศวร’ ‘สุริโยไท’ ‘สัปเหร่อ’ ‘ธี่หยด’ ก็ไม่เห็นต้องมีคำหยาบแต่อย่างใด
วันนี้ก็เลยมาถึงจุดที่ ‘คำหยาบ’ ถูกใช้ในสื่อบันเทิงกันอย่างพร่ำเพรื่อ โดยละเลยที่จะนึกถึง ‘ความเหมาะสม’ และลืมนึกไปว่า ‘คำหยาบ’ นั้นมันเป็น ‘ดาบสองคม’ โดยด้านร้ายของมันนั้น คมมากเสียด้วย ในด้านดีก็คือการที่คำหยาบถูกใช้ในฉากที่ตัวละครโมโหด่ากันรุนแรง เพื่อนกันพูดคุยกันด้วยคำหยาบคายตามประสาคนสนิทกัน คนดูก็สัมผัสได้ถึงความสมจริง บทพูดดูเป็นธรรมชาติ
แต่ผู้สร้างหรือเจ้าของสื่อ อาจจะลืมคำนึงถึงไปว่า เราอยู่ในยุคที่คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงสื่อได้ทั่วถึง ทุกเวลานาที และหลากหลายช่องทาง ผ่านมาเป็น 10 ปีแล้ว เราก็ยังคงมีแค่ปราการโง่ ๆ ไว้ป้องกัน “คุณอายุเกิน 18 แล้ว ใช่หรือไม่” เด็กที่ไหนแม่งกดเลือก “NO” วะ
หลายปีก่อน ผมได้เข้าไปใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ต ผมเข้าไปช่วงสั้น ๆ แค่ 10 นาทีได้ อย่างที่หลายคนทราบกันดีแหละครับ ว่าร้านอินเทอร์เน็ตนั้นคือสถานที่ที่เด็ก ๆ เข้าไปเล่นเกมออนไลน์ ระหว่างที่ผมนั่งอยู่หน้าจอนั้น ข้าง ๆ ผมก็เป็นกลุ่มเด็กที่มารุมล้อมกันเล่นเกม ซึ่งมองเผิน ๆ นั้นหลายคนก็อายุยังไม่ถึง 10 ขวบกันเลย แต่ประโยคสนทนานั้นทำผมสะดุ้งได้ เพราะมีครบทั้ง “ไอ้เฮี่ย ไอ้สัส ไอ้เย็บแม่” มันไม่ใช่ภาพที่น่ารัก น่าชื่นชมเลยครับ
ถ้าลูกหลานเราวัยแค่นี้ แต่พูดจาหยาบคายติดปากแบบนี้ ที่เด็กเป็นแบบนี้ก็ต้องโทษอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น “สังคม” “สิ่งแวดล้อม” “เพื่อน” “สมาชิกในครอบครัว” นั่นล่ะครับ แต่นี่คือเหตุการณ์หลายปีก่อนนะครับ ซึ่งในวันนี้เราต้องเพิ่มอีก 1 อิทธิพลหลัก นั่นก็คือ “สื่อบันเทิง” ที่เริ่มใช้คำหยาบกันแบบมันส์มือ โดยไม่มีความยั้งคิด พิจารณาไตร่ตรอง ก่อนที่จะใส่เข้ามาในสื่อที่เข้าถึงง่ายที่ผู้ใหญ่ยากจะควบคุม
ใครที่อายุ 40+ คงจะจำกันได้ ในวันที่สื่อบ้านเรามี กบว. คอยควบคุม ดูหนังโรง ละครทีวีก็มีแต่หมอก ตัวละครด่ากันก็มีเสียง “ตู๊ด” ดูแล้วเสียอารมณ์ กบว.กลายเป็นครูระเบียบที่ผู้ชมเอือมไปตาม ๆ กัน กบว.โบกมือลาไปในปี 2535 โดยทิ้งท้ายไว้ว่า ต่อไปนี้ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้สร้างในการดูแลควบคุมสื่อของตนเอง แล้วนี่ไงละครับ ผลของการดูแลควบคุมสื่อกันเอง
แบบนี้เรียกว่า “ไม่มีการดูแลควบคุม” เสียมากกว่า ปล่อยกันเลยเถิดเกินงามแบบนี้ ระวังเหอะจะมีหน่วยงานเฮี้ยบ ๆ แบบ กบว. กลับมา แล้วเราก็จะได้ดูหนังหมอก หนังโดนตัด ตัวละครอ้าปากก็มีเสียง “ตู๊ด ตู๊ด”
วอนถึง Netflix อย่าได้มองแต่ผลประโยชน์ทางธุรกิจจนลืมถึงผลกระทบในแง่ลบต่อสังคม ตัวอย่างเช่นการโปรโมต ‘สาธุ’ ด้วยการทำคลิปรวมทุกฉากที่เดียร์ด่า “ไอ้เฮี่ย” แอลลี่เล่นเรื่องนี้ได้เป็นธรรมชาติครับ สามารถรับบทเป็นเพื่อนกับ เจมส์ ธีรดนย์ และ พีช พชร ได้อย่างกลมกลืนทั้งที่อายุห่างกันถึง 10 ปี บทสนทนาของเพื่อนที่สนิทกันก็มีคำด่ากันสอดแทรกเป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว
ปล่อยให้คำหยาบมันทำหน้าที่ของมันอยู่ในหนังนั่นล่ะ ไม่ต้องหยิบยกมาขับเน้น อวดอ้าง ว่ามันเป็นเรื่องเท่ อะไรขนาดนั้น แอลลี่ประสบความสำเร็จมากครับจาก ‘สาธุ’ วันนี้เธอกลายเป็นพรีเซนเตอร์หลากหลายแบรนด์เลยทั้ง ททท. และ เซ็นทรัล แน่นอนว่าเธอก้าวมาถึงขั้นนี้ได้ เพราะเธอมี ‘อิทธิพล’ และมีผู้ติดตามจำนวนมาก รวมไปถึงเด็ก ๆ ที่จะเอาเธอเป็นแบบอย่าง พี่แอลลี่ด่า “ไอ้เฮี่ย” แล้วเท่จังเลย
‘ผลเสีย’ ของคำหยาบมีมากกว่าผลดี ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เห็นข่าวที่คนทะเลาะกันแล้วด่าคำหยาบใส่กันจนเลือดขึ้นหน้า ขาดสติ ลงมือฆ่ากัน คำหยาบไม่เคยได้รับการยอมรับในระดับสากล ในหลาย ๆ สื่อก็ยังเขียน F**CK กันอยู่เลย บางเพลงที่เนื้อร้องมีคำหยาบคาย ก็ยังต้องมีเวอร์ชันที่แก้เนื้อร้องเพื่อเปิดออกสื่อ
ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมาในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่งเพื่อต้องการฝากถึง เจ้าของสื่อ คนเขียนบท ให้ได้ฉุกคิดทุกครั้งที่จะใส่คำผรุสวาทต่าง ๆ ลงไปในบทภาพยนตร์ ว่าอย่าได้มองผิดเป็นถูก บางครั้งความพยายามที่จะให้มันออกมา “เท่” แต่เมื่อใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อ เกินเหมาะเกินควรมันจะกลายเป็น “ถ่อย” ไปเสียแทน
#เธอฟอร์แคช
ตั้งใจหาหนังคลายเครียด เห็นตัวอย่างจะเป็นแนวรอมคอม พอดูจริงรอมคอมแค่ครึ่งแรก ครึ่งหลังคือดาร์กดิ่งสุด แต่เราว่าความดาร์ก ความดิ่งของชีวิตตัวละคร มันก็ยังพอมีแสงสว่างอยู่บ้าง ไม่ได้มืด 8 ด้านแบบหนังเรื่อง red life และสิ่งที่เจอคือก็ทำตัวเองด้วย แต่ส่วนตัวคือชอบนะ แค่อาจจะผิดคาดจากหนังตัวอย่างไปหน่อย เล่าถึงชะตากรรมคนเป็นหนี้สินได้จริงมากค่ะ ดูแล้วสงสารพระเอกนางเอก ความจนมันน่ากลัว การไม่เป็นหนี้คือชีวิตที่อิสระที่สุดแล้ว
นักแสดง ญาญ่า ของปรบมือเลยจริงๆ เล่นได้แบบไม่มีภาพสาว สดใส อินเตอร์ในตัวละครนั้นเลย แววตาคือสิ้นหวังหม่นหมองมากๆ ส่วนพระเอกพอได้ตามมาตรฐานค่ะ ให้ 9/10
💓💓 ญาญ่า-อุรัสยา กับการแสดงที่ “เต็มสิบไม่กล้าหักสักคะแนน”
ใน “เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ…รักแลกเงิน” 💓💓
.
ส่วนที่ดีของหนังมาก ๆ มีหลายส่วน ทั้งการแสดงของญาญ่า อุรัสยา ที่อุ้มหนังเอาไว้ให้มีมิติและทำให้คนดูมีอารมณ์ร่วมไปกับเธอที่เป็นตัวเดินเรื่อง เรียกว่าตั้งแต่ น้อง.พี่.ที่รัก (2561) , Fast and Feel Love เร็วโหด..เหมือนโกรธเธอ (2565)
.
ญาญ่าทำให้เห็นว่าเธอเป็นนักแสดงที่ไว้ใจในการถ่ายทอดบทที่ซับซ้อนได้ แม้ตัวละครที่เธอได้รับเล่นในหนังมักจะเป็นบทคนธรรมดา ๆ ยิ่งพอถึงซีนอารมณ์ก็แสดงได้อย่างยอดเยี่ยมทุกฉาก
.
“เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงิน” ญาญ่า ปะทะ ไบรท์-วชิรวิชญ์
สมทบด้วย เบนซ์-พรชิตา ณ สงขลา, ยายป๋อมแป๋ม-นิติ และบิ๊ก ดีเจอร์ราร์ด
รีเมคมาจาก “Man In Love” ภาพยนตร์เกาหลีปี 2014 ผลงานของผู้กำกับฮันดงกุก
เมื่อคนทวงหนี้ดีเดือด หลงรัก ลูกหนี้ดีเด่น👩🏼💻
.
เตรียมพบกับการทวงหนี้ฉบับแอดวานซ์
ไม่ต้องการเงิน แต่ต้องการความรัก💓
.
กำกับโดยวาสุเทพ เกตุเพ็ชร์ จากซีรีส์ “The Gifted นักเรียนพลังกิฟต์”
วันนี้ดูได้แล้วที่ Netflix
“การเป็นหนี้ล้วนมีราคาที่ต้องจ่าย
ที่นอกจากการคืนเงิน
เรายังต้องแลกอะไรอีกมากมาย
เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสระ
และเป้าหมายที่ต้องการ”
.
.
.
เช่นกันกับ “เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ..รักแลกเงิน”
หนังใหม่แกะกล่องที่จะพาเราไปสำรวจ
นิยามแห่งคำว่าหนี้ในหลายแง่มุมด้วยกัน
กับเรื่องราวของ “โบ้ (ไบรท์ วชิรวิชญ์)”
หัวโจกแก๊งทวงหนี้นอกระบบสุดห่าม
จากปกติที่เจ้าหนี้มักจะ
ข่มขู่หรือใช้กำลังกับลูกหนี้
แต่พี่คนนี้มีวิธีการทวงสุดเพี้ยนพิสดาร
ด้วยการหยิบไรก็ได้มาฟาดหัว
ถ้าไม่จ่ายก็ตายไปด้วยกันนี่แหละ!
กลายเป็นจิตวิทยาสุดโหดที่ปั่นประสาทอีกฝ่าย
จนอกสั่นขวัญผวายอมควักเงินคืนกันเป็นแถบ
แต่คนเรามักจะมีอะไรที่ “แพ้ทาง” อยู่
เมื่อโบ้จับพลัดจับผลูตามทวงหนี้ลุงคนหนึ่ง
ซึ่งดันมีเหตุบางอย่างที่ส่งผลให้แกคืนเงินไม่ได้
จนภาระตกมาที่ลูก “อิ๋ม (ญาญ่า อุรัสยา)”
สาวแบงก์คนสวยงามสะพรั่ง
ทำเอานักเลงหนุ่มแทบคลั่ง
เปลี่ยนบทบาทจากเจ้าหนี้
มาเป็นลูกหนี้ร่วมที่ใช้สัญญาเดต
จ่ายรักมาเพื่อแลกเงินใช้หนี้กลับไป
จะเทใจให้เธอแบบทบต้นทบดอกเลย
ด้วยสัญญาเดตตลอดหนึ่งเดือน
รักวุ่นๆ ระหว่างคน 2 คน
ที่เชื่อมโยงกันด้วยหนี้
จึงเริ่มขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
คนหนึ่งเว้าวอน ส่วนอีกคน
กล้ำกลืนฝืนทนเพื่อพ่อ
ท่ามกลางอำนาจมืดที่คอยจ้องรอ
กลายเป็นบททดสอบสำคัญว่า
จะรักไม่รักหรือจะไปต่อ
รอให้เวลาและการกระทำเป็นตัวพิสูจน์
เลยอยากเล่าเรื่องราวระหว่างทาง
จากที่ผมได้ไปดูรอบสื่อมาสักหน่อย
อ่านสบาย ไม่มีสปอยล์ พร้อมแล้วก็
ควบมอเตอร์ไซค์ ออกไปไล่ทวงหนี้กันเลย!
.
.
.
1. ความน่ากลัวของ “หนี้นอกระบบ”
– อย่างที่เราเห็นกันในชีวิตจริงตามข่าว ซึ่งหนังได้ฉายภาพเรื่องราวตรงนั้นออกมาขยี้ให้เห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ในแวดวงนี้ที่บางทีชีวิตเขาก็เลือกไม่ได้ กู้ในระบบไม่ผ่านก็ต้องมาทางนอก จ่ายไปก็เจอดอกเพิ่มที่แพงลิ่ว ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดหวั่นเสี่ยงปลิว มีโอกาสโดนข่มขู่ถูกทำร้ายได้ทุกเมื่อ
—————-
2. อยู่ในสังคมแบบไหน เราก็จะเป็นแบบนั้น
– แบบเดียวกับโบ้ที่เรียนไม่จบ โอกาสน้อย ก็ต้องตกเป็นเบี้ยให้ “เจ๊วรรณ (พี่เบนซ์ พรชิตา)” มาเฟียใหญ่คอยบงการชักใย บีบให้เขาต้องใช้ชีวิตอย่างไม่มีทางเลือก ต้องอยู่ท่ามกลางนักเลงหัวไม้ชอบใช้ความรุนแรง เลยติดร่างแหตาม ทั้งที่จริงตัวเขาอาจมีอะไรดีๆ ซ่อนไว้ข้างใน รอให้จังหวะโอกาสนำพา
—————-
3. ความเจ็บปวดของชนชั้นกลาง-ล่าง
– หนังยังสะท้อนแง่มุมชีวิตของลำดับชนชั้นให้เห็นภาพชัดเจน ตั้งแต่คนชั้นล่างที่ปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ ซ้ำยังเป็นหนี้ คนชั้นกลางที่แม้มีดีกรีปริญญาก็ใช่ว่าจะการันตีเงินเดือนดีๆ และความสำเร็จในชีวิตได้ กลายเป็นต้องตกอยู่ในกรงขังสี่เหลี่ยมของคำว่า “พนักงานประจำ” ทำงานออฟฟิศ เข้างาน ตอกบัตร เงินเดือนเข้าได้ไม่นานก็กลายเป็นเงินทอน หมดไปกับหนี้ที่มาด้วยภาระ และเส้นแบ่งถึงสังคมคนชั้นสูงที่เป็นยอดปรารถนาของใครหลายๆ คน ที่อยากจะทำงานเก็บเงินแล้วไปให้ถึงคุณภาพชีวิตดีๆ ที่เฝ้ารอ
ซึ่งหลายครั้งชีวิตจริงมันก็ไม่ง่าย แม้ภาพความพรีเมียมเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามสื่อโฆษณา หรือเดินทางผ่าน เหมือนอยู่ใกล้แต่ก็แอบไกลเกินเอื้อมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานสร้างตัวใช้หนี้ เพื่อจะไปให้ถึงความสำเร็จตามนิยามที่ครอบครัวและกรอบสังคมกำหนด
ทั้งหมดคือความจริงว่าคนเราล้วนแล้วแต่ “เป็นหนี้” เพียงเพื่อสนองเป้าหมายมาเติมเต็มชีวิตในด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งความสุข แล้วส่งความทุกข์ตามมาติดๆ
ทุกครั้งที่ทำงานเหนื่อยอยากพักก็ต้องหยุดคิดว่ามีหนี้รออยู่ เคลียร์ทันก็ดีไป เคลียร์ไม่ได้ หลายปัจจัยไม่เอื้อก็มีแต่จะเครียดขึ้นเรื่อยๆ นี่คือสัจธรรมที่เห็นผ่านทั้งในจอและชีวิตจริงว่า “คนไทยส่วนใหญ่เป็นหนี้” ไม่เว้นแม้แต่เมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยาที่เงินสะพัดตลอดปี ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเคลือบแฝงอยู่ไม่ต่างจากที่อื่นๆ เลย
—————-
4. นิยามคำว่า “หนี้” ที่ไม่ได้มีแค่เม็ดเงิน
– นับเป็นจุดที่ผมชอบสุดในเรื่องเลย คือการสอดแทรกกิมมิคของคำนี้ได้อย่างแยบคาย นำเรื่องด้วยความหมายตรงตัวคือหนี้ที่เป็นเม็ดเงินชัดเป็นรูปธรรม กับหนี้ในด้านอื่นที่เราอาจติดค้างใครบางคนหรืออะไรบางอย่าง แต่จะเป็นหนี้อะไรบ้าง ต้องไปดูให้รู้กันครับ หนังหยอดประเด็นนี้ไว้หลายมุมทีเดียว
นับเป็นหัวใจสำคัญ 4 ข้อ
ที่เราจะได้จากเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย
แต่ละจุดก็พลอยทำให้คิดตาม
ถึงแง่มุมต่างๆ ในชีวิตจริง
และตกผลึกกลับมา
แม้ช่วงแรกถึงค่อนกลางเรื่อง
อาจมีจุดขัดใจบ้าง
กับการดำเนินเรื่องที่
เหมือนขาด “จุดเชื่อม” ระหว่างทาง
เลยทำให้การเดินทางและพัฒนาการ
ของตัวละครต่างๆ จาก A ไป B ถึงบลาๆ
มันไม่สมูธเท่าที่ควรจะเป็น
เพราะเราไม่ได้เห็นว่า “กว่าจะ” เป็น
แบบนั้นหรือแบบนี้ พวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง
และก็มีบางช่วงที่เนือยๆ หน่อยจนเกือบหลับ
แต่แล้วก็กลับมาได้ด้วยไฮไลท์
ที่ค่อยๆ ไต่ระดับอารมณ์ขึ้น
อัดดราม่าเข้มข้นเข้ามาเต็มที่
พร้อมเสียงดนตรีคลอกระตุ้น
แล้วยิ่งได้การแสดงที่ทรงพลัง
จากตัวหลักอย่าง “ไบรท์-ญาญ่า”
ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกเหมือนกำลัง
เดินทางไปกับตัวละครและรู้สึกไปด้วยกัน
อย่างไบรท์ที่งานนี้มาในบทแบดบอย
ก็ทำได้ดีเลยนะครับ ทั้งสีหน้า แววตา
อารมณ์ และมาดนักเลงที่ขึงขังตึงตัง
เป็นเสือนักล่าหนี้ผู้เปี่ยมด้วยจิตสังหาร
บวกกับลูกบ้าที่แตกต่าง
แต่เมื่ออยู่ในอ้อมกอดนางเอก
ก็กลายเป็นแมวน้อยกลอยใจ
อยากจะใช้หนี้และใช้ชีวิตไปด้วยกัน
ดูเป็นความ Contrast ที่แตกต่างอย่างน่ารัก
เวลาจีบ หยอด โชว์ลูกเล่นลูกอ้อน
มันชวนฟินจิกหมอนแอบเขินแทนเบาๆ
ตามฟีลแบดบอยเวลาอยู่กับคนที่รัก
คงหวานประมาณนี้เลย
ส่วนฉากร้องเพลงก็ยังเสียงดีเหมือนเดิม
นับเป็นคนที่เก่งทั้งงานเพลงและแสดงจริงๆ
ส่วนญาญ่านี่เรียกได้ว่ายังคง
ความเป็นยอดนักแสดงเอาไว้ได้ดีไม่มีตก
ตีบทแตกในการสวมบทบาทเป็นอิ๋ม
ที่มีอะไรมากมายในใจแต่แสดงออกไม่ได้
เจอบททดสอบมากมายทั้งดีร้าย
เวลาสุขก็สดใสเปล่งประกาย
จนแอบอมยิ้มตาม เวลาเศร้าก็หม่นเทาจับใจ
และเมื่อไปถึงจุดบางอย่างขึ้นมา
หัวใจเราก็เหมือนถูกบดขยี้ไปกับเธอด้วย
(แอบเสียดายเล็กๆ ที่ไม่ได้ฟังเสียงหวานๆ เลย ><)
รวมถึงทีมนักแสดงสมทบอย่าง
“พี่เบนซ์ พรชิตา” ที่สวมบทเจ๊ใหญ่
ได้ดุ เถื่อน แซ่บสะใจมาก
จากที่เคยเห็นแกเล่นเป็นนางเอก
มาตั้งแต่สมัยละครยุคแรกๆ
พอมาเล่นร้ายก็กร้าวใจสุด
ส่วนท่านอื่นๆ ก็นับเป็นส่วนเติมเต็ม
ที่ขาดไม่ได้เลยในเรื่อง
อีกจุดที่อยากชมคือไอเดียการเล่นคำ
นำคาร์ฟอร์แคชมาเป็นเธอฟอร์แคช
แล้วประยุกต์กิมมิคเดียวกันออกมาให้ต่าง
แค่เปลี่ยนจากรถมาเป็นรัก แล้วเล่ามันออกมา
รวมถึงเรื่องของ “ความสมจริง”
อย่างเวลาตัวละครป่วย เครียด
เศร้า หรือเข้า รพ. ก็ปล่อยนักแสดง
ให้หน้าสดหรือปรับให้ซีดลงหน่อย
ขอบตาดำ หน้าหมอง ปากซีด
ไม่ใช่ตามสูตรละครไทยเดิม
ที่ฉากตื่นหรือเข้านอนก็ยังหน้าเต็ม
พอมาเห็นเขาทำสมจริงก็อุทานในใจ
เออ นี่สิวะ! คอนเทนต์ที่ควรจะเป็น
แบบที่เห็นกันในหนังต่างประเทศเขาทำ
โดยรวมนับเป็นหนังที่ทำออกมาได้ดี
เกือบจะหลับแต่กลับมาได้
และให้แง่มุมมากมายกลับมา
เข้าโรงพรุ่งนี้แล้วครับ (25 เม.ย.) ไปดูกัน!
(ไม่ต้องดูต้นฉบับของเกาหลีก็เข้าใจง่าย) 💵💵
ขอบคุณ Filmment เพจพาร์ทเนอร์ใจดีที่ชวนไปดูเช่นเคยนะครับ 😉
Not Friends (2023) เพื่อน(ไม่)สนิท
Love and Run (2019) มิสเตอร์ดื้อ กันท่าเหรียญทอง
Pattaya Heat (2024) ปิดเมืองล่า