เรื่องย่อ : The Boy and the Heron (2023) เด็กชายกับนกกระสา ดูหนังออนไลน์ หนังใหม่ ดูหนังHD ดูหนังฟรี MovieHD24 หนัง2024 หนังออนไลน์ Full HD
The Boy and the Heron (2023) เด็กชายกับนกกระสา
เรื่องราวของ Mahito เด็กหนุ่มที่ต้องดิ้นรนเพื่อรับมือกับการตายของแม่ของเขา ขณะที่อาศัยอยู่กับพ่อและแม่เลี้ยงในเมืองชนบทเขาได้พบกับนกกระสาพูดได้ซึ่งบอกว่าแม่ของเขายังมีชีวิตอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะตามหาเธอMahito จึงเริ่มต้นการเดินทางมหัศจรรย์ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์และความท้าทายที่บังคับให้เขาเผชิญหน้ากับความเศร้าโศกและเรียนรู้ความหมายของชีวิต
[รีวิว] The Boy and the Heron – ฮายาโอะ มิยาซากิ และสตูดิโอจิบลี่ของเขา
เดิมที “เด็กชายกับนกกระสา” ก็มีความน่าสนใจในตัวอยู่ไม่น้อย ทั้งการเป็นผลงานเรื่องล่าสุดของสตูดิโออนิเมชั่นระดับขึ้นหิ้งอย่าง Ghibli Studio หลังจากที่ล้มเหลวกับงานอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องแรกของพวกเขาอย่าง Earwig and the Witch (2020) และหนำซ้ำยังเป็นการหวนคืนการกำกับอีกครั้งในรอบ 10 ปี ของผู้ก่อตั้งและผู้กำกับอนิเมชั่นระดับพระกาฬอย่างฮายาโอะ มิยาซากิ (หรือจะมิยาซากิ ฮายาโอะ ก็ได้) ที่เคยประกาศว่าจะวางมือจากการกำกับตั้งแต่เรื่อง The Wind Rises ในปี 2013
กลับมาทั้งทีจะปกติก็คงไม่ได้ The Boy and the Heron ใช้แผนการโฆษณา(ในญี่ปุ่น) ด้วยภาพตัวอย่างเพียงแค่ภาพเดียวเท่านั้น ไม่มีการปล่อยตัวอย่างหนัง ไม่มีภาพวิชวลต่างๆ เพิ่มเติม ไม่มีการเปิดเผยเรื่องย่อ ราวกับว่าต้องการให้ผู้ชมไปลุ้นเอาเองในโรงภาพยนตร์ ส่วนการตลาดนอกญี่ปุ่นมีตัวอย่างหนังถูกปล่อยออกมาเล็กน้อย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก 君たちはどう生きるか (How Would You Live?) เป็น The Boy and the Heron ซึ่งแน่นอนว่าหากไม่ใช่ “ระดับตำนาน” จริงๆ ภาพนกกระสาหน้าตาพิลึกเพียงภาพเดียว คงไม่สามารถสร้างความน่าสนใจได้อย่างที่ Ghibli Studio ทำได้
แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ คงอยู่ที่ตัวภาพยนตร์อนิเมชั่นมากกว่าสิ่งอื่นใด และต้องบอกตามตรงว่าหากเทียบกับภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ ของจิบลิหรือของฮายาโอะเองก็ตาม The Boy and the Heron ถือว่ามีเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างยากต่อความเข้าใจ และอาจจะไม่ค่อยรื่นรมย์นักสำหรับบุคคลทั่วไป ยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับผลงานมาสเตอร์พีชอย่าง Spirited Away (2001) ที่มีพล็อตใกล้เคียงกัน ที่ว่าด้วยการผจญภัยของเด็กในดินแดนมหัศจรรย์เพื่อเรียนรู้ถึงการก้าวผ่านช่วงวัย (Coming of age) ซึ่งถูกใช้เป็นประเด็นหลักของเรื่อง
แทนที่จะเป็นอารมณ์ของความปิติยินดีของการได้พบหรือได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความกล้าในการตัดสินใจเพื่อต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ จนท้ายที่สุดพวกเขาก็เรียนรู้ที่จะก้าวผ่านช่วงวัยของตัวเอง แต่กับเด็กชายมาฮิโตะ บรรยากาศรอบตัวของเขากลับแฝงไปด้วยอารมณ์ของความโดดเดี่ยว โศกเศร้า ความโหยหาอาลัยบางสิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความตาย เนื้อหาอันหนักอึ้งและมันมืดหม่นจนต้องบอกว่านี่ไม่ใช่ “การ์ตูนโลกสวย” อย่างแน่นอน
หนำซ้ำการดำเนินเรื่องยังปราศจากความหวือหวาหรือการเร้าอารมณ์เพื่อเอาชนะศัตรูหมายเลขหนึ่งของเรื่อง และจบลงด้วยความปิติยินดีที่ได้กอบกู้โลกไว้ตามรูปแบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่สิ่งต่างๆ นั้นผ่านไปอย่างเงียบงัน ราวกลับว่าการผจญภัยของมาฮิโตะเป็นเพียงแค่ฝันหรือภาพมายา แน่นอนว่าหากต้องการตามหาความบันเทิงในแบบปกติ The Boy and the Heron คงให้ไม่ได้แน่ๆ
เดิมทีตัวผู้กำกับฮายาโอะตั้งใจจะให้ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่อง The Wind Rises ในปี 2013 เป็นผลงานเรื่องสุดท้ายของเขา แต่แล้วเขาก็สร้าง The Boy and the Heron และออกฉายในปี 2023 (หรือบ้านเราในปี 2024) แม้เราจะบอกไม่ได้ว่านี่จะเป็นเรื่องสุดท้ายจริงๆ ของเขาหรือไม่ แต่สิ่งที่สัมผัสได้ คือ ความเป็นส่วนตัวของเนื้อหาที่ฮายาโอะใส่เข้ามา ราวกับว่าเขาต้องการให้เรื่องราวในภาพยนตร์เป็นตัวแทนสะท้อนชีวิตทุกช่วงวัยของเขา มากกว่าที่จะสร้างเพื่อความบันเทิงสำหรับคนหมู่มาก
แม้จะเต็มไปด้วยความเป็นส่วนตัวและสิ่งที่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์อันหลากหลาย ตั้งแต่ตัวละครที่เป็นมนุษย์ สัตว์ สิ่งมีชีวิตประหลาด สภาพแวดล้อมเหนือจินตนาการ ที่ตีความหมายได้ทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม แต่เมื่อสังเกตลึกลงไปสิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับตัวของฮายาโอะทั้งสิ้น ทั้งตัวเอกของเรื่องอย่างมาฮิโตะที่แน่นอนว่าคงไม่ได้หมายถึงใครที่ไหน โลกอันแปลกประหลาดด้านหลังหอคอยที่เป็นฉากใหญ่ของเรื่องก็มีหลายอย่างที่สื่อไปถึงสตูดิโอที่เขาปลุกปั้นมากับมือด้วยพลังแห่งความทุ่มเทและจินตนาการ
รวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่สะท้อนถึงแนวคิดปรัชญาการมองโลกตลอดชีวิตของผู้กำกับวัย 83 ปี กับการสร้างผลงานอันล้ำค่ามากมายให้กับวงการอนิเมชั่น โดยอาจจะต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมไม่น้อยเกี่ยวกับ Ghibli Studio เพื่อใช้ในการแกะทั้งความหมายของนกกระสา พ่อมดเฒ่าผู้สร้าง การล่มสลายของปราสาท และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งหากเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้วการดู The Boy and the Heron ก็จะมอบอะไรให้กับเรามากขึ้นหลายเท่าตัวนัก
ในขณะที่คุณภาพของงานศิลป์ของเรื่องก็ยังเป็นดั่งมนตร์สะกดที่ช่วยเพิ่มพลังในสิ่งที่ผู้กำกับฮายาโอะอยากสื่อออกมา ทั้งความเนียบของลายเส้น ความไหลลื่น และความละเอียดของการเคลื่อนไหว ล้วนถูกบรรจงสร้างขึ้นมาอย่างประณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของสตูดิโอ สถาปัตยกรรมแปลกตาและฉากหลังอันน่าทึ่งก็ล้วนแต่มีความหมายสอดคล้องกับเรื่องราว รวมทั้งงานด้านเสียงประกอบจากคอมโพสเซอร์คู่บุญระดับตำนานอย่าง โจ ฮิไซชิ (Joe Hisaishi) ที่ร่วมงานกันตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งสตูดิโอ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า The Boy and the Heron เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเปี่ยมล้นคุณภาพจากบุคลากรระดับตำนานของแท้
สรุป The Boy and the Heron ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของฮายาโอะ มิยาซากิ ที่แม้จะไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นผลงานเรื่องสุดท้ายของเขาจริงๆ หรือไม่ แต่หากวิเคราะห์จากเนื้อหาและมวลความรู้สึกที่ถูกส่งออกมาจากผลงานชิ้นนี้ก็อาจจะไม่แปลกใจถ้าจะเป็นแบบนั้นจริงๆ และแม้เรื่องราวของเด็กชายมาฮิโตะอาจจะดูไม่ง่ายและไม่ได้สร้างความสนุกสนานได้มากมาย แต่มันก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความงามทางศิลปะและสารที่ถูกซ่อนไว้ อันบ่งบอกถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ที่ทำให้เขาและสตูดิโอได้รับการยอมรับในฐานะของ “ระดับตำนาน” อย่างไม่ต้องสงสัย
8/10
ภาพสวย จินตนาการล้ำลึก เรื่องราวซับซ้อนมาก
หากคุณไม่เคยดูหนังของฮายาโอะ มิยาซากิมาก่อน ฉันไม่แนะนำให้เริ่มด้วยเรื่อง The Boy and the Heron
สำหรับการแนะนำ ฉันแนะนำให้เริ่มด้วยเรื่อง Spirited Away (2001) และ Princess Mononoke (1997)
หากคุณรู้สึกสนุกและชอบหนังเรื่องนี้ คุณจะชอบเรื่อง The Boy and Heron อย่างแน่นอน เรื่องนี้ไม่ใช่หนังของฮายาโอะ มิยาซากิและจิบลิที่แข็งแกร่งที่สุด แต่ถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่เพิ่มเข้ามาในผลงานของทั้งสองบริษัท
หนังเรื่องนี้เริ่มต้นด้วยจังหวะช้าๆ ที่เน้นไปที่การกำหนดโลก ตัวละคร และปัญหาต่างๆ ของพวกเขาเป็นหลัก เมื่อหนังดำเนินไป คุณจะเห็นสัมผัสของอีกโลกหนึ่ง ก่อนที่คุณจะรู้ตัว มันก็กลายเป็นความฝันอันเร่าร้อนของฮายาโอะ มิยาซากิที่จินตนาการและเล่าเรื่องได้อย่างเต็มตัว ในที่สุดทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติในตอนจบ
มันสนุกและน่าดูไหม? ใช่
ฉันเคยสับสนและมีคำถามมากมายที่ไม่มีคำตอบบ้างไหม? ใช่แล้ว
7/10
ดูสับสนแต่ก็มีจิตวิญญาณ
การได้ชม The Boy and The Heron ซึ่งเป็นภาพยนตร์ล่าสุดของฮายาโอะ มิยาซากิ ให้ความรู้สึกราวกับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในตัวของมันเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการประกาศอย่างแทบจะเป็นเซอร์ไพรส์ด้วยคำว่า “ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของฮายาโอะ มิยาซากิ” ด้วยกระแสตอบรับที่ดีขนาดนี้ รวมถึงบทวิจารณ์ที่ยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์ ทำให้กระแสตอบรับของฉันพุ่งสูงจนสุด ผลลัพธ์สุดท้าย? ไม่ใช่แบบที่คาดหวังไว้ และนั่นก็โอเค!
มาดูด้านบวกกันบ้าง แอนิเมชั่นเรื่องนี้สุดยอดมาก วิธีที่ฮายาโอะ มิยาซากิสร้างโลกและตัวละครเหล่านี้ขึ้นมาได้ถือเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่งมาก พวกมันทั้งหมดมีชีวิตชีวาด้วยสีสันและการเคลื่อนไหว อีกด้านที่เป็นบวกคือโทนของภาพยนตร์ ฉันเกลียดดิสนีย์จริงๆ ที่พยายามทำตลาดเรื่องนี้ในฐานะภาพยนตร์สำหรับเด็ก ทั้งที่ไม่ใช่เลย มันมีช่วงเวลาและธีมที่น่าขนลุกและน่ากลัวบางอย่างที่ไม่เหมาะกับเด็ก ซึ่งก็ดี ฮายาโอะ มิยาซากิแสดงได้ดีที่สุดเมื่อเขาสามารถผสมผสานความเป็นผู้ใหญ่เข้ากับความแฟนตาซีได้
นักแสดงยอดเยี่ยมเสมอ ฉันเคยดูพากย์เสียงภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นฉันจึงไม่รู้ว่านักแสดงพากย์เสียงตะวันตกทำได้ดีแค่ไหน แต่โอ้โห พวกเขาทุกคนทำผลงานได้ยอดเยี่ยมมาก!
มาถึงข้อเสียกันบ้าง… สิ่งสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับภาพยนตร์ของ Studio Ghibli โดยทั่วไป โดยเฉพาะภาพยนตร์ของฮายาโอะ มิยาซากิ ก็คือภาพยนตร์เหล่านี้มักจะใช้กฎเกณฑ์ที่ตัวละครเป็นผู้กำหนด การเดินทางของพวกเขาต่างหากที่อยู่เบื้องหน้า การสร้างโลกและเรื่องราวมักจะมาเป็นอันดับสองในภาพยนตร์ของเขาเพื่อไม่ให้เบี่ยงเบนความสนใจจากการเดินทางของตัวละคร ตัวอย่างที่สำคัญของเรื่องนี้ ได้แก่ Spirited Away และ Howl’s Moving Castle ซึ่งการสร้างโลกนั้นสร้างขึ้นโดยใช้วิธีการและกฎเกณฑ์ที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ แต่ในภาพยนตร์เรื่อง The Boy and The Heron การสร้างโลกนั้นซับซ้อนและสับสนมากจนรู้สึกเหมือนว่าเขาต้องการให้โลกนี้เป็นจุดศูนย์กลางในภาพยนตร์เรื่องนี้ และมันน่าเสียดายมากเพราะรู้สึกเหมือนว่ามันขัดแย้งกับตัวละครหลักซึ่งควรจะต้องเผชิญกับการเดินทางทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง แต่ทุกอย่างกลับจบลงอย่างกะทันหันและไม่เหมาะสมในตอนจบ ซึ่งทำให้ฉันสับสนมากและไม่รู้สึกว่าเป็นการจบเรื่องที่ดีเลย
นอกจากนี้ วิธีการที่ภาพยนตร์เรื่องนี้แนะนำตัวละครซ้ายและขวาโดยไม่มีเหตุผลนั้นน่าสับสนมาก อีกครั้งที่ Hayao Miyazaki ทำเช่นนี้เพียงเล็กน้อยในภาพยนตร์ที่ผ่านมาของเขา โดยที่ตัวละครมีพื้นที่ให้สำรวจและทิ้งผลกระทบไว้ในเรื่องราว แต่ในครั้งนี้ มันขัดแย้งกับการสร้างโลกของตัวเองอีกครั้ง ทุกอย่างดูไร้ระเบียบและยุ่งเหยิงมาก The Heron เป็นตัวละครที่สนุก แต่ฉันไม่รู้สึกว่าเขาหรือ Mahito ทำหรือเรียนรู้สิ่งใดจากการผจญภัยเหล่านี้
ตอนนี้ มันอาจจะฟังดูเหมือนว่าฉันเกลียดภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ฉันไม่ได้เกลียด ฉันสนใจแต่ภาพยนตร์ของฮายาโอะ มิยาซากิและสตูดิโอจิบลิมากจนอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ที่เราเคยดูมาก่อน แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ใช่ผลงานที่ดีที่สุดของฮายาโอะ มิยาซากิ แต่ก็ยังถือว่าดีทีเดียวและคุ้มค่าแก่การชม
From Up On Poppy Hill (2011) ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์
The Secret World of Arrietty (2010) อาริเอตี้ มหัศจรรย์ความลับคนตัวจิ๋ว